ร่วมเดินขบวนแห่ตุงค่าคิง

วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ร่วมเดินขบวนแห่ตุงค่าคิง จากหน้าศาลากลางจังหวัดลำพูน ไปยังวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ
ในวันที่ ๑๙ เมษายน ๖๗
ตุง ก็คือ ตุง พจนานุกรมภาษาล้านนาเขียนว่า “ทุง” ออกเสียง ท เป็น ต อ่านว่า“ตุง”
“ค่าคิง” เป็นภาษาคำเมือง อ่านตัว ค ออกเสียงเป็น ก ก็อ่านว่า “ก้าคิง” คิงเป็นสรรพนามบุรุษที่สอง แปลว่าตัวคุณเอง คือของคิง ก็หมายถึงของคุณคือเท่าตัวคุณ
ความหมายง่ายๆก็คือ ตุงที่มีขนาดเท่ากับความยาวเท่ากับความสูงของตนเอง
ตุงค่าคิง จึงออกแบบให้มีลักษณะรูปร่างสื่อถึงตัวคน มีหัว มีแขน ร่างกาย และแข้งขา
ความหมายของการถวายตุงค่าคิงก็คือ ถวายเพื่อตนเอง คือเป็นสัญญลักษณ์ตัวแทนเราเอง ใช้ในพิธีสืบชะตา เพื่อเป็นสิริมงคล คนโบราณสมัยก่อนนิยมทำตุงค่าคิงยาวกว่าตนเองอีกนิดหนึ่งเพื่อให้มีอายุยืนยาว มีความก้าวหน้ารุ่งเรือง เหมือนตุงที่ยาวขึ้น
ส่วนความเชื่อทางพระพุทธศาสนา คนล้านนามักจะถวายตนกับพุทธศาสนาด้วยการบวช. บางคนถ้ามีแรงศรัทธาไม่ได้บวชก็จะสร้างพระพุทธรูปพระยืน ให้มีความยาวเท่ากับตนเอง เพื่อถวายตนเองเพื่อพระพุทธศาสนา
ส่วนคนที่ ไม่สามารถสร้างพระพุทธรูปได้ ก็ใช้ตุงค่าคิงแทน เพื่อถวายตนเอง เข้าสู่พุทธศาสนิกชนในพระพุทธศาสนา เสมือนการบวชตนเอง เป้าหมายเป็นสัญณลักษณ์เพื่อเตือนตนเองให้อยู่ในธรรมะ. มีสติ คิดดีทำดี มีความสุข
ตุงค่าคิง ถวายแล้ว ควรเก็บไว้ที่วัด หรือเก็บไว้ที่บ้านเพราะเป็นของเราไม่ควรนำไปเป็นเครื่องประดับตกแต่ง ทั่วไปหรือ บนถนน เพราะเป็นของเรา “ค่าคิง” ก็คือของเรา เท่าเรา ตัวเรา
ที่มา : วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
Scroll to Top
วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.