ร่วมเดินขบวนแห่ตุงค่าคิง

วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ร่วมเดินขบวนแห่ตุงค่าคิง จากหน้าศาลากลางจังหวัดลำพูน ไปยังวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ
ในวันที่ ๑๙ เมษายน ๖๗
ตุง ก็คือ ตุง พจนานุกรมภาษาล้านนาเขียนว่า “ทุง” ออกเสียง ท เป็น ต อ่านว่า“ตุง”
“ค่าคิง” เป็นภาษาคำเมือง อ่านตัว ค ออกเสียงเป็น ก ก็อ่านว่า “ก้าคิง” คิงเป็นสรรพนามบุรุษที่สอง แปลว่าตัวคุณเอง คือของคิง ก็หมายถึงของคุณคือเท่าตัวคุณ
ความหมายง่ายๆก็คือ ตุงที่มีขนาดเท่ากับความยาวเท่ากับความสูงของตนเอง
ตุงค่าคิง จึงออกแบบให้มีลักษณะรูปร่างสื่อถึงตัวคน มีหัว มีแขน ร่างกาย และแข้งขา
ความหมายของการถวายตุงค่าคิงก็คือ ถวายเพื่อตนเอง คือเป็นสัญญลักษณ์ตัวแทนเราเอง ใช้ในพิธีสืบชะตา เพื่อเป็นสิริมงคล คนโบราณสมัยก่อนนิยมทำตุงค่าคิงยาวกว่าตนเองอีกนิดหนึ่งเพื่อให้มีอายุยืนยาว มีความก้าวหน้ารุ่งเรือง เหมือนตุงที่ยาวขึ้น
ส่วนความเชื่อทางพระพุทธศาสนา คนล้านนามักจะถวายตนกับพุทธศาสนาด้วยการบวช. บางคนถ้ามีแรงศรัทธาไม่ได้บวชก็จะสร้างพระพุทธรูปพระยืน ให้มีความยาวเท่ากับตนเอง เพื่อถวายตนเองเพื่อพระพุทธศาสนา
ส่วนคนที่ ไม่สามารถสร้างพระพุทธรูปได้ ก็ใช้ตุงค่าคิงแทน เพื่อถวายตนเอง เข้าสู่พุทธศาสนิกชนในพระพุทธศาสนา เสมือนการบวชตนเอง เป้าหมายเป็นสัญณลักษณ์เพื่อเตือนตนเองให้อยู่ในธรรมะ. มีสติ คิดดีทำดี มีความสุข
ตุงค่าคิง ถวายแล้ว ควรเก็บไว้ที่วัด หรือเก็บไว้ที่บ้านเพราะเป็นของเราไม่ควรนำไปเป็นเครื่องประดับตกแต่ง ทั่วไปหรือ บนถนน เพราะเป็นของเรา “ค่าคิง” ก็คือของเรา เท่าเรา ตัวเรา
ที่มา : วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน